ขนาดตัวอักษร
UPDATE :
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง เรื่อง การยื่นแบบและการชำระเงินภาษีป้าย ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568
ข่าวประชาสัมพันธ์
ประชาสัมพันธ์ความรู้ เรื่องโรคฉี่หนู
18 กุมภาพันธ์ 2568

อาการของโรคฉี่หนู

     ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนูแต่ละคนมักมีอาการแตกต่างกันไป บางคนอาจไม่พบอาการใด ๆ ในขณะที่บางคนอาจพบอาการได้ โดยอาจแสดงอาการภายใน 4–7 วันหลังได้รับเชื้อ ซึ่งอาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น

  • ไข้สูง

  • หนาวสั่น

  • ตาแดง

  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ปวดศีรษะ

  • ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลัง น่อง และต้นคอ

  • ปวดท้อง

  • ท้องเสีย

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • มีผื่นขึ้น

จากนั้น เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการข้างต้นไปประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจพบว่าอาการเริ่มดีขึ้น แต่จะกลับมาเกิดอาการอีกครั้ง ซึ่งการเกิดอาการในระยะนี้ เป็นระยะที่รุนแรงและสามารถส่งผลกระทบถึงอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต หรือปอดได้ โดยลักษณะอาการที่มักพบในระยะนี้ ได้แก่

  • มีไข้

  • ปวดศีรษะ

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • เจ็บหน้าอก

  • ตาเหลือง

  • หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • มือ เท้า หรือข้อเท้าบวม

  • ไอเป็นเลือด

  • มีอาการของเยื้อหุ้มสมองอีกเสบหรือสมองอักเสบ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ชัก

การรักษาโรคฉี่หนู

      ผู้ป่วยโรคฉี่หนูบางคนอาจไม่พบอาการรุนแรงและหายดีได้เอง หรืออาจเพียงรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างยาเพนิซิลลิน (Penicillin) หรือดอกซีไซคลิน (Doxycycline) เป็นระยะเวลา 5–7 วัน ซึ่งควรต้องรับประทานตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมด และป้องกันการกลับไปติดเชื้ออีกครั้ง หรือบางกรณี นอกเหนือจากยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจรับประทานยาแก้ปวดอย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือาราเซลตามอน (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย ในขณะที่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูแบบรุนแรงจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และรักษาอาการติดเชื้อด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าไปในกระแสเลือดโดยตรง และหากมีอวัยวะใด ๆ ที่เสียหายจากการติดเชื้อ จนไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้ก็อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น เครื่องช่วยหายใจ หรือหากติดเชื้อที่ไต แพทย์ก็อาจต้องใช้การล้างไตเข้าช่วย

      ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจออกจากโรงพยาบาลได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางรายอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะของผู้ป่วย รวมถึงความเสียหายต่ออวัยวะที่ติดเชื้อ

      ส่วนหญิงตั้งครรภ์ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเชื้ออาจแพร่ไปสู่ทารกในครรภ์และส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการของโรคฉี่หนูจึงอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด